1. Cyber Balance
ทักษะการจัดสรรเวลาหน้าจอ
การจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) คือ ความสามารถของบุคคลในการบริหารจัดการชีวิตตนเองในชีวิตประจําวัน เช่น การออกกําลังกาย การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ การพูดคุยกับคนรอบตัว ฯลฯ กับการจัดการในการใช้เวลาในโลกออนไลน์ ได้แก่ การเล่นโซเชียลมีเดีย การเล่นเกม ฯลฯ ให้เกิดสมดุลกัน โดยรู้จักควบคุมเวลาและพฤติกรรมของตนเองขณะที่ใช้อุปกรณ์สื่อมีเดียทั้งหลายได้เหมาะสมกับอุปกรณ์สื่อมีเดีย เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ค แลปท็อป คอมพิวเตอร์ สมาร์ททีวี ฯลฯ ทั้งนี้บุคคลนั้นจะต้องสามารถใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ได้โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตตนเอง
การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างพอดีสามารถเริ่มต้นได้จากการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen time Management) เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมเวลาการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ และ เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน รวมถึงสื่อ ออนไลน์ในทุกๆ รูปแบบได้อย่างเหมาะสมโดยไม่เกิดผลเสียกับตนเองและคนรอบข้าง
ข้อแนะนําในการจัดสรรเวลาหน้าจออย่างเหมาะสม
เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนทุกวัยในยุคนี้กําลังเผชิญปัญหาเวลาที่ใช้ไปกับหน้าจอมากขึ้น เรื่อย ๆ โดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่ซึ่งภาระหน้าที่มักถูกผูกติดกับการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการ ติดต่อสื่อสารผ่าน Line หรือ e-mail การพิมพ์งานเอกสารด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การหา ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการสืบค้นในเว็บไซต์ รวมถึงกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจทั้งหลายก็ล้วนถูกปรับเปลี่ยน รูปแบบให้ทําผ่านหน้าจออิเล็กทรอนิกซ์ได้ทั้งสิ้น จึงอาจดูเป็นเรื่องยากที่เราจะกําหนดเวลางานหน้าจอของเราให้เหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อวันตามอุดมคติ แต่ข้อแนะนําเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารบริหารการใช้ เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและดีต่อสุขภาพมากขึ้น
ทักษะการเสริมสร้างสุขภาวะดิจิทัล
สุขภาวะดิจิทัล หมายถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อและส่งข้อมูลได้โดยผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนเพื่อดูแลสุขภาพโดยหากจะเปรียบเทียบเหมือนกับมีหมอ เภสัชกร และพยาบาลส่วนตัว หรือแม้แต่นักโภชนาการมาดูแลที่บ้านเลยที่เดียว
เพราะเมื่อโลกกําลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคดิจิทัลซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศมี ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีออนไลน์เฉลี่ยถึง 9 ชั่วโมงต่อวัน “เทคโนโลยีดิจิทัล” จึงน่าจะเป็นอีกช่องทางที่จะ นํามาต่อยอดใช้ประโยชน์ในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับคนไทยได้ง่ายและมากขึ้น
หลายคนเลือกใช้ประโยชน์หาความรู้ในการดูแลสุขภาพผ่านโลกออนไลน์อยากรับประทานอาหารร้านไหน เจ็บป่วยเบื้องต้นเพราะอะไร ก็สามารถใช้ปลายนิ้วหาคําตอบได้แล้วโดยผู้ใช้งานสร้างสรรค์ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึงมากที่สุด
ปัจจุบันการพัฒนา Digital Health ให้เหมาะสมและใช้กันอย่างแพร่หลายคงจะส่งผลให้การดูแล รักษาร่างกาย ปรับอาหารการกิน และการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยเป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การใช้นวัตกรรมดังกล่าวเป็นเพียงผู้ช่วยหมอ เภสัชกรหรือพยาบาลในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ สามารถทดแทนกันได้และผู้ป่วยยังจําเป็นต้องไปโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการตรวจที่ถูกต้องหรือให้ได้รับข้อมูลอย่างละเอียดเช่นเดิม
ผลกระทบจากการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลต่อสุขภาพ
1. ผลกระทบต่อร่างกาย
• สายตาและการมองเห็น
• ข้อกระดูก
• พัฒนาการ มักเกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กปฐมวัยที่ครอบครัวมักจะนําเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการเลี้ยงดู
2. ผลกระทบต่อจิตใจ
ผู้ที่มีอาการติดเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลอาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ร้องโวยวาย ใช้ กําลัง มีอารมณ์ไม่ดีหงุดหงิดง่าย เมื่อไม่ได้ใช้งานตามความต้องการและเมื่ออยู่ในโลกออนไลน์มากเกินไปก็จะเริ่มตัดขาดกับโลกภายนอก หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว คนรอบข้าง สังคมรอบตัว และอาจนําไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ เช่น ภาวะต่อต้านสังคม ภาวะซึมเศร้า
การป้องกันเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยกําหนดให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นประตูสู่การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ทําให้เด็กมีความกระตือรือร้นและแรงบันดาลใจในการค้นหาความชอบความสนใจ และใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น เช่น ใช้แท็บเล็ตในการวาดรูป การเขียนโค้ดเกม การแต่งเพลง หรือสร้างงานเขียนในแพลตฟอร์มออนไลน์
2. Cyber Ability
ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ
สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (2556) ได้อธิบายความหมายของ “การรู้เท่าทันสื่อ” ไว้ว่าเป็นทักษะหรือความสามารถในการ “ใช้สื่ออย่าง รู้ตัว” และ “ใช้สื่ออย่างตื่นตัว”
สําหรับคําว่า “การใช้สื่ออย่างรู้ตัว” สามารถขยายความได้ว่า สามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ สามารถโต้ตอบกับ สื่อได้อย่างมีสติและรู้ตัว สามารถตั้งคําถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิต และผลิต ภายใต้ข้อจํากัดใด ควรเชื่อหรือไม่ หรือมีค่านิยม ความเชื่อ อะไรที่แฝงมากับสื่อนั้น ผู้ผลิตสื่อหวังผลอะไรจากเรา
ส่วน “การใช้สื่ออย่างตื่นตัว” สามารถขยายความได้ว่า แทนที่ผู้รับสื่อจะเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว ก็จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกบ้าง โดยการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพและสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ได้
การคิดเชิงวิพากย์
การคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึงกระบวนการคิดที่มีความตั้งใจจะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างที่นําเสนอ แต่ตั้งคําถามท้าทายหรือโต้แย้งข้ออ้างนั้นเพื่อนําไปสู่การค้นหาความจริงและเพื่อเปิดโอกาสให้แก่ความคิดใหม่ที่แตกต่างอันจะนําไปสู่คําตอบที่สมเหตุสมผลมากกว่าข้ออ้างเดิม เหมาะสมกับบริบทแวดล้อมมากกว่า เกิดผลดีแก่ชีวิตและสังคมส่วนรวมมากกว่า
ประโยชน์ของการคิดเชิงวิพากษ์
1. ช่วยสืบค้นความจริงแทนการคล้อยตามความเชื่อ
2. ช่วยให้สังเกตเห็นความแตกต่างท่ามกลางความเหมือน
3. ช่วยให้เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ถูกหลอก
4. ช่วยให้การตัดสินใจที่มีคุณภาพมากกว่า เพราะตัดสินตามข้อเท็จจริงไม่ใช่ตามความรู้สึก
5. เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางความคิด เพราะกล้าคิดแนวใหม่และกล้าคิดนอกกรอบ
กระบวนการคิดวิพากษ์ เริ่มต้นโดยพิจารณาที่ปัญหาหรือสถานการณ์แล้วคิดวิพากษ์ หรือตั้งคําถามท้าทายบนปัญหาหรือสถานการณ์นั้น เพื่อให้ได้ไอเดียหรือทางเลือกที่หลากหลาย หลังจากนั้นจึงคิด วิพากษ์หรือตั้งคําถามท้าทายบนไอเดียหรือทางเลือกเหล่านั้นเพื่อช่วยเป็นแนวทางในการตัดสินใจ
จากการศึกษาพบว่า Critical thinking สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วที่สุดในช่วงวัยรุ่นตอนกลาง และพัฒนาขึ้นสูงที่สุดในช่วงอายุ 20 กลางๆ และคงตัวอยู่ในระดับนั้นจนถึงอายุ 30 กลางๆ และเริ่มลดต่ําลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
3. Cyber Identification
อัตลักษณ์พลเมืองไซเบอร์ (Cyber Citizen Identity)
หมายถึงการสร้างและการบริหารจัดการเพื่อระบุ หรือแสดงตัวตนด้วยความซื่อสัตย์ ทั้งในโลก ออนไลน์และโลกความจริง เพราะในปัจจุบันด้วยลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย อีกทั้งสื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีที่มีมากมาย การสร้างภาพลักษณ์ตนเองและตัวตนในสภาพแวดล้อมดิจิทัล ทําให้ บุคคลสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวตนต่อสังคมภายนอกโดยผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ ต้องมีความสามารถในการสร้างสมดุลบริหารจัดการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ให้ได้ ทั้งในส่วนของโลกออนไลน์และโลกความจริง โดยตอนนี้ประเด็นเรื่องการสร้างอัตลักษณ์ออนไลน์ถือเป็น ปรากฏการณ์ใหม่ที่ทําให้บุคคลสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวตนต่อสังคมภายนอก โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคมในการอธิบายรูปแบบใหม่ของการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นการแสดงออกเกี่ยวกับตัวตนผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคมต่าง ๆ
การแสดงออกเกี่ยวกับตัวตนในโลกออนไลน์นั้นจะอาศัยช่องทางการสื่อสารผ่านเว็บไซต์เครือข่าย สังคมจะมีความสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแสดงออกของบุคคลนอกจากจะประเมินจากเนื้อหาหรือรูปแบบหรือสิ่งที่แสดงออกไป การเลือกใช้ช่องทางในการแสดงออกก็เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อควบคุมและกําหนดอัตลักษณ์ดิจิทัลของตนเองได้อีกด้วย
ความสามารถในการสร้างและจัดการในการระบุตัวตนด้วยความซื่อสัตย์ทั้งในโลกออนไลน์และ ออฟไลน์เพราะแต่ละคนเข้าใจคําศัพท์พื้นฐานที่จําเป็นสําหรับการพูดคุยเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของสื่อที่พวกเขาฝังอยู่ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลายของสื่อดิจิทัลและเทคโนโลยี การสร้างภาพลักษณ์ตนเองและตัวตนในสภาพแวดล้อมดิจิทัล และผลกระทบที่เทคโนโลยีอาจมีต่อภาพลักษณ์และคุณค่าของตนเอง เช่น ภาพร่างกายแบบแผนทางเพศที่อาจนําไปใช้ในสื่อดิจิทัล อาทิ วิดีโอเกมหรือโฆษณา และแบบแผนทางเชื้อชาติที่อาจฝังอยู่ในระบบ การใช้สื่อดิจิทัลส่วนบุคคลอาจมีผลกระทบต่อวิชาชีพบุคคลแสดงความสอดคล้องกันและความซื่อสัตย์ในพฤติกรรมออนไลน์และออฟไลน์ ความซื่อสัตย์เมื่อใช้เทคโนโลยีและแสดงให้เห็นถึงความสามารถในตนเองโดยการหาวิธีใช้ประโยชน์จากโอกาสที่พวกเขามอบให้ทางออนไลน์
Cyber Empathy
มารยาททางไซเบอร์ (Cyber Manners)
การเรียนรู้การรักษามารยาทเป็นประเด็นพื้นฐานที่ต้องเรียนรู้ มารยาททางไซเบอร์ หรือมารยาทในการติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต คือธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับการประพฤติตนอย่างสุภาพในการ ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นทางเครือข่ายหรือสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ อีเมล การสนทนาส่วนตัว หรือบนกระดานสนทนาสาธารณะ ในโซเชียลมีเดียหรือการพูดคุยในเกมออนไลน์ มารยาททางอินเทอร์เน็ต หลายอย่างเป็นเหมือนมารยาททางสังคมเมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยพบปะพูดคุยกันแบบเห็นหน้า เช่น การปฏิบัติกับผู้อื่นเหมือนที่เราต้องการให้เขาปฏิบัติต่อเรา การให้เกียรติและหลีกเลี่ยงการดูถูกหรือทําให้เขาอับอาย การช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเขาต้องการ มารยาททางสังคมเหล่านี้ถูกละเลยไปเมื่อเราติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นผ่านหน้าจอ
เมื่อเข้าสู่โลกออนไลน์ผู้ใช้งานบางคนสูญเสียการควบคุมอารมณ์และมารยาทเหล่านี้ทันทีเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้ใช้งานคนอื่นหรือมีความรู้สึกรุนแรงต่อเนื้อหาของข่าวบางข่าว พวกเขาเหล่านั้นใช้ถ้อยคํารุนแรงที่ผิดไปจากการพูดกับผู้อื่นในชีวิตจริง มีการโต้ตอบกัน ในช่องทางแสดงความคิดเห็นสาธารณะของสื่อสังคมออนไลน์ จนบางครั้งเกิดสงครามทางอารมณ์ (Flame War) การโต้ตอบลักษณะนี้ยังส่งผลรบกวนผู้ใช้งานคนอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่เข้ามาอ่านให้เกิดความรําคาญได้เช่นกันบางครั้งผู้ใช้งานบางคนอาจส่งข้อความส่วนตัวไปด่าทออีกฝ่ายหนึ่ง สาเหตุเพราะไม่ชอบ ความคิดเห็นต่างของคน ๆ นั้น
ในโลกไซเบอร์ผู้ใช้งานจํานวนมากไม่ได้เปิดเผยชื่อจริงและไม่อาจรู้อัตลักษณ์ที่แท้จริงของแต่ละคน เช่น อายุ เพศ อาชีพ หรือศาสนา คนจํานวนมากจึงมีแนวโน้มที่จะวิจารณ์ผู้อื่นด้วยถ้อยคํารุนแรงโดยไม่ยั้งคิด กลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยความคึกคะนอง และไม่ให้เกียรติหรือเคารพกันตามอัตลักษณ์ทางสังคมเหมือนในชีวิตจริง
มารยาททางไซเบอร์ที่ควรเรียนรู้
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ควรได้เรียนรู้มารยาทในการติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต เพราะทุกคนควรมี มารยาทในการติดต่อสื่อสารบนในโลกออนไลน์ ที่มีความหลากหลายของอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อสร้างจิตสํานึกความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี โดยเฉพาะเด็ก ๆ ควรได้รับการสอนมารยาททางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่เล็ก การฝึกมารยาททางอินเทอร์เน็ตนั้นเด็กไม่ได้เรียนรู้แค่ความสุภาพเรียบร้อยเท่านั้น แต่เขายังมีโอกาสฝึกฝนการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เคารพความเป็นส่วนตัวและให้เกียรติผู้อื่นรู้จักการเป็นคู่สนทนาที่ดีและช่วยเหลือผู้ใช้งานคนอื่นหากเขาต้องการความช่วยเหลือ การสอนให้เด็กเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ตให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับมารยาททางสังคมในชีวิตจริงดังที่ได้กล่าวมา แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้นมารยาททางไซเบอร์ จึงเปลี่ยนไปตามช่องทางการติดต่อสื่อสารในแต่ละประเภทอีกด้วย เช่น มารยาทในการใช้โทรศัพท์ มารยาทในการใช้กระดานสนทนาในสังคมสาธารณะ มารยาทในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มารยาทในการใช้วิดีโอคอล และ มารยาทในการเล่นเกมส์ออนไลน์ เป็นต้น
4. Cyber Rights
การจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management)
หมายถึง การจัดการความเป็นส่วนตัวเป็นความสามารถหรือทักษะในการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งของตนเองและผู้อื่นที่เผยแพร่อยู่ในโลกดิจิทัลอย่างเหมาะสมและมีวิจารณญาณ ซึ่งทักษะหรือ ความสามารถดังกล่าว จัดเป็นเรื่องที่ทุกคนจําเป็นต้องเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 โดยการที่จะมี ความสามารถหรือทักษะเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจําเป็นที่จะต้องพิจารณาเรื่องหลัก ๆ อยู่ 4 เรื่อง ดังต่อไปนี้
1. ความเข้าใจในเหตุผลของการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะเมื่อต้องนําข้อมูลส่วนบุคคลเข้าสู่สังคมออนไลน์ เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของตนเองและผู้อื่น
2. ความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันทางดิจิทัล เพื่อรับทราบถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขจนนําไปสู่สังคมที่มีความเท่าเทียมกันทางดิจิทัล
3. ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลใดสามารถนําเข้าหรือไม่ควรนําเข้าสู่สังคมออนไลน์ และพึงเคารพต่อสิทธิของคนทุก ๆ คน เพราะความเป็นส่วนตัวเป็นหนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์
4. ความเข้าใจในเรื่องของความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงของข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมออนไลน์
ตัวอย่าง สิ่งที่วัยรุ่นแคนาดาคิดเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของพวกเขาโดยการพยายามถ่ายรูปหรือแชร์รูปภาพที่ไม่มีตัวบุคคลเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของตนเองและผู้อื่น
การจัดการสิทธิ์แบบมีส่วนร่วม (Collaborative Rights Management)
บุคคลเข้าใจสิทธิของตนเองในฐานะพลเมืองดิจิทัลและผู้บริโภค เช่น สิทธิในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก โอกาสในการมีส่วนร่วมทางออนไลน์และการแบ่งกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมเนื่องจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคม สถานะ ความพิการทางกายภาพ
บุคคลมีความพร้อมในการพัฒนาทักษะด้านความรู้ ความเข้าใจ สําหรับการวิเคราะห์กฎหมายที่มีอยู่ร่วมกับแนวทางปฏิบัติของตนเองเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิ์ดิจิทัลได้รับการเคารพทางออนไลน์ พวกเขายัง พัฒนาการคิดระบบในระดับที่ซับซ้อนเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลและชุมชนในการมีส่วนร่วมทางออนไลน์
บุคคลแสดงความคิดเชิงรุก โดยคํานึงถึงอุดมคติประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมสิทธิมนุษยชนพวกเขารับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมประโยชน์สาธารณะของสังคมและสิ่งแวดล้อม
5. Cyber Security
การจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล (Personal cyber security management) ความหมายของการจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล
ความสามารถในการจัดการความปลอดภัยของตนเองหรือรู้ว่าจะป้องกันยังไงให้ข้อมูลตนเองบนโลกออนไลน์ปลอดภัย เป็นการทําความเข้าใจความเสี่ยงออนไลน์ส่วนบุคคลและสามารถระบุภัยคุกคามทางไซเบอร์ประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น การลักลอบเข้าระบบโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต การหลอกลวง และมัลแวร์ และสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือเพื่อสามารถใช้เพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคามดังกล่าวได้
ความสามารถในการระบุภัยคุกคามทางไซเบอร์โดยใช้แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย ติดตั้งไฟร์วอลล์และแอปพลิเคชันป้องกันมัลแวร์ และใช้เทคโนโลยีโดยไม่ทําลายข้อมูลและอุปกรณ์ของตน
การจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร (Organization cyber security management)
หมายถึง การใช้งานระบบหรือสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ทํางานร่วมกันเพื่อเป็นป้องกันความเสียหายข้อมูลอุปกรณ์และระบบองค์กรหรือหน่วยงานต้องทําการรักษาความปลอดภัย เพื่อรับรองระดับการป้องกันการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวที่เหมาะสม เพื่อใช้เครื่องมือกลยุทธ์และโปรโตคอลเพื่อ รับรองและปรับปรุงการรักษาความลับและความปลอดภัยในการทํางานร่วมกัน
นอกจากนี้ยังตรวจสอบเครือข่ายและระบบของตนและใช้ระบบสนับสนุนเพื่อให้ได้ผลผลิตและประสิทธิภาพสูงสุด โดยหากบุคคลเป็นสมาชิกขององค์กรเครื่องมือและกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยของพวกเขาจะสอดคล้องกับกรอบแนวทางปฏิบัติและข้อกําหนดทางเทคนิคด้านความปลอดภัยขององค์กรเพื่อให้แน่ใจว่ามีผลกระทบต่อธุรกิจของตนน้อยที่สุด
6. Cyber Safety
การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying)
เป็นการคุกคามโดยเจตนาผ่านทางช่องทางดิจิทัลหรือสื่อออนไลน์ โดยวิธีการกลั่นแกล้งจะส่ง ข้อความหรือรูปภาพผ่านสื่อโซเชียลที่สามารถเปิดเป็นสาธารณะหรือสามารถแบ่งปันเนื้อหาให้ผู้อื่นเข้าถึงหรือพบเห็นได้ การกลั่นแกล้งเช่นนี้สามารถกระทําได้มักกระทําซ้ำๆ ไปยังเหยื่อหรือผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง โดยผู้รังแกจะเปิดเผยหรือปิดบังตัวตนก็ได้ บางกรณีการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์อาจรวมถึงการแชร์ข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นโดยมีเจตนาเพื่อที่จะทําให้เจ้าตัวอับอายหรือทําลายชื่อเสียง
ความรุนแรงของของการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์เป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายได้แต่ข้อสังเกตที่สําคัญ คือการกระทําเพียงครั้งเดียวหรือกระทําโดยไม่ได้เจตนาไม่อาจจะถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งได้
ตัวอย่างการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ได้แก่
1.) การส่งข้อความที่แสดงออกถึงการคุกคาม ข่มขู่ หรือมีถ้อยคําที่หยาบคาย
2.) การใช้เล่ห์กลในการล่อลวงให้ผู้อื่น ให้เปิดเผยข้อมูลที่ก่อให้เกิดความอับอาย
3.) แอบเข้าใช้งานบัญชีของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.) สร้างเพจหรือสังคมออนไลน์ที่มีการต่อต้าน บอกเล่า ล้อเลียน ปมด้อยของผู้อื่น
5.) สร้างเพจหรือสังคมออนไลน์ที่มีการบอกเล่าเปรียบเทียบผู้อื่น
6.) การโพสข้อความหรือรูปภาพบนโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook YouTube Twitter และ Line
7. Cyber Communication
ร่องรอยบนโลกออนไลน์ (Digital Footprint)
ข้อมูล Digital Footprint คือ ร่องรอยที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและโลกไซเบอร์กระทําการต่างๆ ในโลก ดิจิทัล เช่น การใช้งานอัปโหลดข้อมูลส่วนตัว ไฟล์งาน รูปภาพ การใช้งานสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และ คอมพิวเตอร์ โดยระบบต่าง ๆ ของอินเทอร์เน็ตจะบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งาน เช่น ชื่อ และข้อมูลส่วนตัว วัน เดือน ปีเกิด ตําแหน่งงาน ผลงาน ข้อมูลการศึกษา ประวัติส่วนตัว ของผู้ใช้งาน การลงทะเบียนอีเมล การโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ ไฟล์งานต่าง ๆ เมื่อถูกส่งเข้าโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว จะทิ้งร่องรอยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไว้ให้ผู้อื่นสามารถติดตามได้และจะเป็นข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้อย่างง่ายดาย
ร่องรอยทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลว่าจะ หลงเหลือร่องรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ ร่องรอยทางดิจิทัลอาจจะส่งผลกระทบในชีวิตจริง ร่องรอยดิจิทัล สามารถบอกให้ผู้อื่นทราบถึงสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่สนใจ และสิ่งที่เราอยากทํา เพราะโลกสองใบถูกเชื่อมโยง เข้าหากันจนแทบจะผสมกลมกลืนไปหมด การกระทําในโลกออนไลน์ถูกเอาไปตัดสินในชีวิตจริงในขณะเดียวกันเราก็เลือกที่จะพูดความจริงของเราในโลกออนไลน์
ร่องรอยดิจิทัลก็พอจะมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกและประหยัดเวลามากขึ้นเวลาเรากรอกข้อมูลส่วนตัวลงในช่องว่างของหน้าเว็บไซต์ เราไม่ต้องพิมพ์ใหม่เพราะร่องรอยดิจิทัลได้บันทึกข้อมูลเราไว้ก่อนแล้ว ร่องรอย ดิจิทัลจึงเหมือนสมุดบันทึกที่สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมออนไลน์ของผู้ใช้งาน
การที่บุคคลต่างๆ เข้าใจแนวคิดของรอยเท้าดิจิทัลและผลที่ตามมาที่เส้นทางของข้อมูลและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอาจทิ้งร่องรอยและมีผลต่อชื่อเสียงของพวกเขาและอื่น ๆ และการใช้ข้อมูลดังกล่าวที่เป็นไปได้เมื่อแชร์ลงบนโลกออนไลน์ ทักษะที่สําคัญคือบุคคลสามารถจัดการรอยเท้าดิจิทัลและใช้เทคโนโลยีในลักษณะที่ก่อให้เกิดชื่อเสียงในเชิงบวกทั้งต่อตนเองและองค์กรของตน
ร่องรอยดิจิทัล มี 2 ประเภทคือ
1. ร่องรอยดิจิทัลที่ผู้ใช้เจตนาบันทึก (Active Digital Footprints)
คือ ร่องรอยดิจิทัลของผู้ใช้งานที่เจตนาบันทึกไว้ในโลกออนไลน์ ข้อมูลที่เราตั้งใจเปิดเผยโดยที่รู้ตัว เช่น อีเมล เบอร์โทร ชื่อโปรไฟล์ เฟซบุ๊กหรือสิ่งที่เราตั้งใจโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย เช่น สิ่งที่เราพูดหรือโพสต์ รูปที่เราเคยลง สิ่งที่เรากดไลก์ รีทวิต หรือแชร์ ที่ตั้งสถานที่ที่เราอยู่หรือเคยไป
2. ร่องรอยดิจิทัลที่ผู้ใช้ไม่เจตนาบันทึก (Passive Digital Footprints)
คือ ร่องรอยดิจิทัล ของผู้ใช้งานที่ไม่มีเจตนาบันทึกเอาไว้ในโลกออนไลน์ หรือข้อมูลแบบที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้รู้ตัว เช่น IP Address หรือ Search History ต่าง ๆ ที่เราถูกจัดเก็บเอาไว้ สิ่งที่เราเคยคลิกเข้าไป การซื้อสินค้าออนไลน์ของเรา การเปิด ระบบ GPS เป็นต้น ในฐานะผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งการใช้ติดต่อสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ การทําธุรกรรมทางการเงิน เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง การใช้งาน WIFI ฟรีในที่สาธารณะ
แนวทางการใช้งานที่ปลอดภัย
การจัดการความตระหนักในตนเอง (Self-Awareness Management)
ความสามารถในการสังเกตและจัดการอารมณ์ตนเองควบคุมยับยั้งตนเองในการสื่อสารบนโลก ออนไลน์ให้เหมาะสมและรู้ระดับความสามารถตนเองในการจัดการตนเองเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ เทคโนโลยี รับรู้คุณค่าของตนเองที่มีและจะได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมดิจิทัล นําไปสู่เคารพผู้อื่นในระหว่างการสื่อสารออนไลน์ความตระหนักจะสามารถอธิบายได้ว่าอารมณ์ของตนอาจส่งผลต่อผู้อื่นได้ อย่างไรอีกด้วย
ความรู้สึกและความตระหนักจะเกิดจากประสบการณ์ดิจิทัล การได้ฝึกการจัดการอารมณ์ และการ ควบคุมแรงกระตุ้นของตน จนสามารถตระหนักถึงระดับความสามารถด้านดิจิทัลของตนเองและทํางาน อย่างแข็งขันเพื่อจัดการและพัฒนาชุดทักษะของตนเอง ส่งเสริมความร่วมมือและปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายและภายนอกเพื่อบรรลุเป้าหมาย
การจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management)
ความสามารถในการจัดการความสัมพันธ์ออนไลน์ของคน ๆ หนึ่งอย่างเชี่ยวชาญผ่านการทํางาน ร่วมกันการจัดการความขัดแย้งและการโน้มน้าวใจทําด้วยจิตใจที่มีความเมตตาปรารถนาจะเห็นผู้อื่นมี ความสุข ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ถ้าจะถามใครสักคนว่าสบายดีไหม น้ำเสียง แววตา และ ท่าทาง ที่แสดงออก ต้องทําให้ผู้ถูกถามสัมผัสได้ถึงความเป็นห่วงเป็นใยอย่างแท้จริง อันจะทําให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนยาวนาน
สุดท้ายข้อควรระวังในการทํา Relationship Management ก็คือข้อมูลต้องถูกต้องแม่นยํา และทันสมัย รวมถึงการนําไปใช้ให้ถูกเวลา สถานที่ และ บุคคล เพราะเรื่องเกี่ยวกับคนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถ้ ผิดพลาดไปความหวังดีอาจกลายเป็นประสงค์ร้าย ทําให้สูญเสียความสัมพันธ์ที่ดีได้
บุคคลเข้าใจและจัดการบริบทต่าง ๆ ของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชุมชนออนไลน์เพื่อบรรลุผลลัพธ์ร่วมกัน บรรทัดฐานทางพฤติกรรมและปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่แตกต่างกันอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มอีกด้วย
บุคคลพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ช่วยให้พวกเขามีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพใน การสื่อสารและเจรจากับและมีอิทธิพลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันระหว่า วัฒนธรรม บุคคลแสดงถึงแรงจูงใจในตนเองและความมุ่งมั่นที่จะมอบวัฒนธรรมที่ครอบคลุมซึ่งปลูกฝัง ความอดทนต่อกันและกันและการทํางานเป็นทีมเพื่อสร้างและเติบโตชุมชนเชิงบวกทางออนไลน์ พวกเขามุ่งมั่นที่จะทําเกินความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกโดยแสดงให้เห็นถึงการทูตและความเต็มใจที่จะระบุความต้องการของผู้อื่นก่อนและพิจารณาชุดความคิดเห็นที่หลากหลายก่อนที่จะตัดสินใจอย่างถูกต้อง
ขอขอบคุณบทความความรู้จาก AIS อุ่นใจ Cyber
สามารถสมัครคอร์สเรียนออนไลน์เพื่อรับใบประกาศนียบัตรและลุ้นรับของรางวัลได้ที่